ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ
กฏหมายรัฐธรรมนูญเพราะ "กฏหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่า และจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้
2.กฎหมายอาญา หมายถึง เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิด
อ้างอิง วิกิพีเดีย (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2 [9 พฤศจิกายน 2555].3.กฤษฎีกา หมายถึง กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
อ้างอิง บทความกฏหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.thethailaw.com/law21/law21.html [9 พฤศจิกายน 2555].
4.นิติรัฐ (Legal State) นิติรัฐ หมายถึง รัฐที่ปกครองด้วย “กฎหมาย” ไม่ใช่ปกครองด้วย “อำนาจบารมี” กล่าวคือ ถือกฎหมายเป็นใหญ่ คนบังคับใช้กฎหมายเป็นรอง ต่างกับรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง เพราะรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง ก็ไม่แน่ว่า กฎหมายจะเป็นใหญ่หรือไม่ แต่ทั้งนี้ ทุกรัฐล้วนมีกฎหมายในการปกครองด้วยกันทั้งสิ้น จุดสำคัญอยู่ที่ว่า กรณีที่เป็นช่องว่างของกฎหมาย หรือไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ถ้าฝ่ายปกครองถือหลักว่า “เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ฝ่ายปกครองจะกระทำอะไรก็ได้ เพราะเป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครอง และในขณะเดียวกัน ถ้ามีกฎหมายให้อำนาจไว้ ฝ่ายปกครองยิ่งจะกระทำอย่างไรก็ได้แล้ว”
อ้างอิง คุณสมชาย เหล่าพิทักษ์วรกุล. (2553).นิติรัฐ VS นิติธรรม (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1442 [9 พฤศจิกายน 2555].
5.สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ ซึ่งประกอบไปด้วยสิทธิตามธรรมชาติและสิทธิที่มีกฎหมายรับรอง
อ้างอิง ณัฐภูมินทร์ เพ่งสมบูรณ์. (2553). สิทธิมนุษยชนคืออะไร (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/365876 [9 พฤศจิกายน 2555].
6. ราชกิจจานุเบกษา หมายถึง ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช 2401 ทำหน้าที่ผลิตข่าวสารของทางราชการเพื่อเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน และพระราชทานชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” แปลว่า “เป็นที่เพ่งดูราชกิจ” อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอาลักษณ์ ปัจจุบันมีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีซี่งเป็นหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่รับผิดชอบจัดพิมพ์
อ้างอิง จเร พันธุ์เปรื่อง. (2553). ราชกิจจานุเบกษา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2 [9 พฤศจิกายน 2555].
7.กฎหมาย หมายถึง คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามต้องรับ
โทษ"
อ้างอิง ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (2552).นิยามของคำว่ากฎหมาย. (ออนไลน์)สืบค้นจาก http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2158 [6 พฤศจิกายน 2555].
8.มาตรา หมายถึง บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ
มาตรา อ้างอิง พจนานุกรม แปลภาษา (ออนไลน์) สืบค้นจาก
http://th.w3dictionary.org/index.phpq=%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2 [9 พฤศจิกายน 2555].
9.ดุลพินิจ หมายถึง คำว่า ดุลพินิจ (อ่านว่า ดุน-ละ-พิ-นิด) ประกอบด้วยคำว่า ดุล กับคำว่า พินิจ. ดุล แปลว่า เท่ากัน, เสมอกัน, เท่าเทียมกัน. พินิจ แปลว่า การพิจารณา. ดุลพินิจ จึงมีความหมายว่า การวินิจฉัยที่สมควร, การพิจารณาด้วยความเที่ยงธรรม.คำว่า ดุลพินิจ ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในการตัดสิน เช่นผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจพิจารณาหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยเสนอ แล้วจึงตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม. เมื่อเขาทำผิดก็ต้องยอมรับโทษ
อ้างอิง ราชบัณฑิตยสถาน (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=3892 [9 พฤศจิกายน 2555].
10.ฝ่ายนิติบัญญัติ หมายถึง ตัวแทนของประชาชนที่ไปทำหน้าที่ออกกฎหมาย พิจารณางบประมาณของแผ่นดิน เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของแผ่นดินและประเทศชาติ
อ้างอิง คลังปัญญา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4 [9 พฤศจิกายน 2555].
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น