1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
ตอบ พระราชบัญญัติ คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เรียกว่า ประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้เนื้อหาของพระราชบัญญัติยังมีลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามมาตรานี้เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปที่เป็นอุดมการณ์ของการศึกษา หรือปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมและเนื่องจากจุดเน้นในส่วนนี้อาจจะทำให้เกิดการแปลความไปได้ว่ามุ่งพัฒนา "ปัจเจกบุคคล" เพียงด้านเดียว ฉะนั้นจึงได้กำหนดต่อไปว่า การพัฒนาดังกล่าวนั้นมุ่งให้คนไทย "มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนรวม
3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ 3 ข้อ ซึ่งจำเป็น
ต้องขอขยายความดังนี้
1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน หลักการนี้มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการจัดประชุมระดับโลกขององค์การยูเนสโก ธนาคารโลก และองค์การยูนิเซฟร่วมกับรัฐบาลไทย ที่หาดจอมเทียน เมื่อ พ.ศ.2532 คำประกาศจอมเทียน ซึ่งดังกึกก้องไปทั่วโลกคือคำว่า "Education for All" และ "All for Education" ซึ่งอาจแปลว่า "การศึกษาเพื่อปวงชน" และ "ปวงชนเพื่อการศึกษา" โดยคำว่า ปวงชน หมายถึง ประชาชนทั้งหมดในประเทศ แต่การที่จะเขียนในเชิงสำนวนเช่นนั้น อาจไม่เหมาะกับภาษาเชิงกฎหมาย จึงต้องปรับภาษาให้ง่ายต่อการแปลความตามกฎหมาย ฉะนั้น หลักการข้อที่ 1 จึงหมายความตามตัวอักษรว่า รัฐจะต้องจัดหรือส่งเสริมให้เอกชนและทุกๆส่วนในสังคมได้จัดการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน การจัดการศึกษาตลอดชีวิตจะจัดอย่างไรเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์การจัด แต่อุดมการณ์ใหม่ของการจัดการศึกษา คือ มุ่งการจัดการศึกษาตลอดชีวิต และจะเกิดการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างจริงจังหรืออย่างมีประสิทธิภาพก็จะต้องมีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี ให้แก่ ประชาชนเป็นเบื้องต้นก่อน หลักการศึกษาพื้นฐานจึงเป็นหลักการและกระบวนการเบื้องต้นที่พระราชบัญญัติการศึกษาฉบับนี้เน้นเป็นพิเศษ
2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หลักประการที่ 2 นี้ ก็คือหลัก "All for Education" ดังที่กล่าวมาแล้ว แนวทางปฏิรูปของพระราชบัญญัติฉบับนี้ นอกจากนำเอามาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณาแล้วยังกำหนดสิทธิของประชาชนที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและยังวางเงื่อนไขให้องค์กรชุมชน องค์กรต่างๆ ในสังคมได้มีส่วนร่วมในการจัด ตลอดจนกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่อสารเพื่อการศึกษา เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง หลักประการที่ 2 นี้ ต้องการจะพูดถึงคุณภาพของการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ อีกประการหนึ่งของการปฏิรูป หลักการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาคุณภาพการศึกษาไทยจะล้าหลังประเทศอื่นก็เพราะเราไม่จัดระบบของเราให้เกิดการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จากการกำหนดหลักการ 3 ประการนี้จึงได้กำหนดมาตรการต่างๆ ในพระราชบัญญัติ เพื่อวางเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงตามหลักการของมาตรา 8 และตามจุดมุ่งหมายของมาตรา 6 และ 7 ตลอดจนอนุวัตตามหลักของการจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการตามมาตรา 9
4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลัก
ดังนี้ (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4) มีหลักการส่งเสริมวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครองครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
หลักการ 6 ประการในมาตรา 9 เป็นหลักของการปรับระบบและโครงสร้างของการบริหารจัดการทางการศึกษาตามปฏิรูป อาจจะกล่าวได้ว่า คุณภาพ และประสิทธิภาพของการศึกษาจะต้องยืนอยู่บนเสาหลัก 4ประการ คือ
1. การจัดระบบการบริหาร ให้เกิดเอกภาพทางนโยบาย แต่กระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษาโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
2. จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในรูปแบบใหม่
3. ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชั้นสูง และการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง
4. จัดระบบการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ 4 ตัวนี้ กำหนดไว้ในหลักการ 6 ประการดังกล่าวในมาตรา 9
5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา หมวดนี้มี 5 มาตรา แต่ก็มีความสำคัญมากในกระบวนการปฏิรูปเพราะเป็นการวางพื้นฐานไปสู่การที่จะ "ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา" ตามวรรค 2
ตอบ มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลัก
ดังนี้ (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4) มีหลักการส่งเสริมวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครองครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
หลักการ 6 ประการในมาตรา 9 เป็นหลักของการปรับระบบและโครงสร้างของการบริหารจัดการทางการศึกษาตามปฏิรูป อาจจะกล่าวได้ว่า คุณภาพ และประสิทธิภาพของการศึกษาจะต้องยืนอยู่บนเสาหลัก 4ประการ คือ
1. การจัดระบบการบริหาร ให้เกิดเอกภาพทางนโยบาย แต่กระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษาโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
2. จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในรูปแบบใหม่
3. ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชั้นสูง และการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง
4. จัดระบบการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ 4 ตัวนี้ กำหนดไว้ในหลักการ 6 ประการดังกล่าวในมาตรา 9
5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา หมวดนี้มี 5 มาตรา แต่ก็มีความสำคัญมากในกระบวนการปฏิรูปเพราะเป็นการวางพื้นฐานไปสู่การที่จะ "ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา" ตามวรรค 2
มาตรา 8 และเป็นการกำหนดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี เพื่อตอบสนองต่อหลักการตามวรรค 1 ของมาตรา 8
มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการปรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตามกฎกระทรวงการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ในวรรคแรกเขียนตามมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญ แต่เติมคำว่า "โอกาส" ไว้ด้วย ซึ่งเกินรัฐธรรมนูญ เพราะโอกาสจะให้มากกว่าสิทธิแต่ในมาตรานี้คำว่า "โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" ก็ยังไม่ได้รับการตีความว่าหมายความว่าอย่างไร จะต้องไปให้คำจำกัดความต่อไปในขั้นปฏิบัติ วรรคที่สอง อาจมีความคลุมเครือในประเด็นความบกพร่องทางสังคมแต่ถ้าสามารถอธิบายได้ว่าความบกพร่องทางสังคม เช่น เกิดมาในชุมชนที่ยากจน เป็นต้น ส่วนที่ "บุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล" ก็คือผู้ที่ขาดพ่อแม่ผู้ปกครองนั่นเอง ประเด็นที่ถกเถียงกันก็คือคำ "แรกเกิด" กับ "แรกพบ" คำหลังอาจจะชัดเจนกว่า "แรกเกิด" อาจจะทำให้ทราบยากว่าใครทุพพลภาพ (ทางจิตใจ) หรือสติปัญญา จนกว่าจะมาค้นพบภายหลังแต่การตีความกฎหมายคงต้องดูเจตนา ผู้เขียนคงต้องการเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 2 สถานการณ์ คือ แรกเกิดในกรณีที่ทุพพลภาพทางร่างกาย "แรกพบ" ในกรณีที่ทุพพลภาพในด้านจิตใจ สติปัญญา วรรคที่สามของมาตรานี้ ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหมายถึงเด็กที่มีสติปัญญาเลิศหรือมีความสมารถเป็นพิเศษก็จะต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ
มาตรา 11 บิดา มารดาหรือผู้ปกครองที่มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา17 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว
มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 12 นี้ คือหลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสอดคล้องกับแนวทางของยูเนสโกที่ประเทศว่า "ทุกคนเพื่อการศึกษา" และนำมากำหนดไว้ในหลักการที่ 2 ในมาตรา 8ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนี้ ยังได้กำหนดการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ ตามมาตรา 13 และ 14 ดังต่อไปนี้
มาตรา 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
(1) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 12 นี้ คือหลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสอดคล้องกับแนวทางของยูเนสโกที่ประเทศว่า "ทุกคนเพื่อการศึกษา" และนำมากำหนดไว้ในหลักการที่ 2 ในมาตรา 8ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนี้ ยังได้กำหนดการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ ตามมาตรา 13 และ 14 ดังต่อไปนี้
มาตรา 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
(1) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
(2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
(3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
(1) การสนับสนุนจากรัฐให้ความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
(2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
(3)การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด ในมาตรา 14 วรรคหนึ่งนี้ เติมคำว่า "ตามควรแก่กรณี" นั้นเพื่อแยกแยะในประเด็นที่ว่า หากผู้ใดมีส่วนจัดการศึกษาก็อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง 3 ข้อได้ แต่ถ้าผู้ใดมีส่วน "สนับสนุน" เช่นบริจาคทรัพย์ก็อาจได้สิทธิประโยชน์เฉพาะข้อ 3
6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ ระบบการศึกษาไทยปัจจุบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น) หรือระบบ 6-3-3 นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of learning" ฉะนั้น แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาฯ มาตรา 15 กล่าวว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ตอบ (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา
6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ ระบบการศึกษาไทยปัจจุบันตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น) และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี (3 ระดับชั้น) หรือระบบ 6-3-3 นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of learning" ฉะนั้น แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาฯ มาตรา 15 กล่าวว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ตอบ (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
(6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา
ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา 24 กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องดำเนินการแนวทาง 6 ประการ หรือเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์และลักษณะของวิชา
8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
ตอบ “มาตรา ๓๗ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา การกำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้น เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วยกับการที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็น นิติบุคคลเพราะ การกระจายอำนาจตามรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการกระจายอำนาจและ ความรับผิดชอบจากผู้บริหารสถานศึกษาไปยังบุคลากรที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายงาน โดยให้ผู้รับผิดชอบมีอิสระและคล่องตัวในการตัดสินใจในการดำเนินงานทั้งฝ่ายงานบริหารวิชาการ ฝ่ายงานบริหาร งบประมาณ ฝ่ายงานบริหารบุคคล ฝ่ายงานบริหารทั่วไป เป็นการจัดการศึกษาโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและหลักการบริหารจัดการที่ดี ดำเนินในรูปของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการตรวจสอบและกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการจัดการการศึกษา
10. การ ที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วยการที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม เพราะการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและศักยภาพคนในท้องถิ่นให้มีคุณลักษณะ ที่สามารถบูรณการวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของสังคมและ ประเทศชาติตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ “ การประเมินคุณภาพภายใน ” หมายความว่า การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตาม และการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนดสำหรับการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งกระทำโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา“การประเมินคุณภาพภายนอก” หมายความว่า การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตาม และการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือผู้ประเมินภายนอก“การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา” หมายความว่า กระบวนการติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และจัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา “การพัฒนาคุณภาพการศึกษา” หมายความว่า กระบวนการพัฒนาการศึกษาเข้าสู่คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา การจัดระบบและโครงสร้าง การวางแผน และการดำเนินงานตามแผน รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)
12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
มาตรา 24 กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องดำเนินการแนวทาง 6 ประการ หรือเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์และลักษณะของวิชา
8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
ตอบ “มาตรา ๓๗ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา การกำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้น เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วยกับการที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็น นิติบุคคลเพราะ การกระจายอำนาจตามรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการกระจายอำนาจและ ความรับผิดชอบจากผู้บริหารสถานศึกษาไปยังบุคลากรที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายงาน โดยให้ผู้รับผิดชอบมีอิสระและคล่องตัวในการตัดสินใจในการดำเนินงานทั้งฝ่ายงานบริหารวิชาการ ฝ่ายงานบริหาร งบประมาณ ฝ่ายงานบริหารบุคคล ฝ่ายงานบริหารทั่วไป เป็นการจัดการศึกษาโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและหลักการบริหารจัดการที่ดี ดำเนินในรูปของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการตรวจสอบและกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการจัดการการศึกษา
10. การ ที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วยการที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม เพราะการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและศักยภาพคนในท้องถิ่นให้มีคุณลักษณะ ที่สามารถบูรณการวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของสังคมและ ประเทศชาติตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ “ การประเมินคุณภาพภายใน ” หมายความว่า การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตาม และการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนดสำหรับการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งกระทำโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา“การประเมินคุณภาพภายนอก” หมายความว่า การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตาม และการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือผู้ประเมินภายนอก“การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา” หมายความว่า กระบวนการติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และจัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา “การพัฒนาคุณภาพการศึกษา” หมายความว่า กระบวนการพัฒนาการศึกษาเข้าสู่คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา การจัดระบบและโครงสร้าง การวางแผน และการดำเนินงานตามแผน รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)
12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วย การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เนื่องจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่ยังมีหลายหน่วยงาน สถานศึกษา ที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่ยังไม่มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนด จึงมีการกำหนดแนวทางให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพได้ กรณีสถานศึกษามีความจำเป็นต้องจ้างบุคคลที่ยังไม่มีมาตรฐานความรู้และ ประสบการณ์วิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๗ และข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยคณะกรรมการคุรุสภาอนุมัติเป็นหลักการ มอบให้เลขาธิการคุรุสภาอนุญาตให้ผู้ขอประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบ อนุญาตประกอบ ได้คราวละ ๒ ปี โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติตาม ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไป
13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ 1. รายจ่ายงบบุคลากร ให้ใช้จ่ายเป็นค่าจ้างชั่วคราว เช่นจ้างครูอัตราจ้าง ยาม เจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด คนขับรถ
2. รายจ่ายงบดำเนินการ ให้ใช้จ่ายเป็นค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ เช่น วัสดุการศึกษา ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าพาหนะ ที่พัก และเบี้ยเลี้ยง ค่าเวชภัณฑ์ ค่าเครื่องเขียน ค่าใช้จ่ายในการแข่งขันกีฬา และค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์
3. รายจ่ายงบลงทุน ให้ใช้จ่ายเป็นค่าครุภัณฑ์ เช่น จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ครุภัณฑ์การศึกษา และค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ โครงการแท็บเล็ตพีซีเพื่อการศึกษาไทย (One Tablet Per Child) มิใช่เป็นเพียงเครื่องมือให้กับนักเรียนใช้เรียน แทนหนังสือเรียนเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วแท็บเล็ตพีซีนี้สามารถทำอะไรได้อย่างมากมาย ขึ้นอยู่กับครู ผู้บริหารและผู้ปกครองจะนำเครื่องมือนี้ไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งความรู้ต่าง ๆ เป็นการสร้างความตื่นตัวให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนทุกระดับ จึงนับได้ว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ในการกระตุ้นให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเด็กเล็กกับพ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่าง ๆ ในโลกกว้างและยังสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างเด็กในเมืองกับเด็กในชนบท สร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพ ทางการศึกษาโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถใช้ได้ในรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการการเรียนรู้รายบุคคล นอกจากนั้น เหตุผลที่ให้เด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใช้แท็บเล็ตพีซีก่อนเพราะเป็นวัยที่สามารถเรียนรู้ได้เร็วตามพัฒนาการทางสมองที่เหมาะสม จะทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข และสามารถสร้างสิ่งที่ดีให้กับตนเองและสังคมได้ในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น